รับขึ้นทะเบียนอย. เครื่องมือแพทย์
ปัจจุบัน เครื่องมือแพทย์ ในประเทศไทย ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ได้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ เครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในการประกอบวิชาชีพ เครื่องมือแพทย์ที่ใช้ให้เกิดผลแก่สุขภาพ เครื่องมือแพทย์หรือชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ และ เครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในวัตถุอื่นๆ
- เครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในการประกอบวิชาชีพ การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ การประกอบโรคศิลปะ หรือการบำบัดโรคสัตว์ตามกฏหมายว่าด้วยการนั้น ๆ เช่น เครื่องเอ็กซเรย์ เครื่องวัดความดันโลหิต
- เครื่องมือแพทย์ที่ใช้ให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการทำหน้าที่ใดๆ ของร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ เช่น อุปกรณ์แม่เหล็ก เก้าอี้นวด เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์เพื่อใช้กายภาพบำบัด
- ส่วนประกอบ ส่วนควบคุมอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนของเครื่องใช้ ผลิตภัณฑ์ คือ ของใช้ประจำอยู่กับเครื่องมือแพทย์เพื่อประโยชน์การจัดดูแล ใช้สอย
- เครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในวัตถุอื่นๆ เช่น ถุงยางอนามัย เครื่องตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในร่างกาย
การจัดกลุ่มเครื่องมือแพทย์เพื่อการกำกับดูแลในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2531 มีการควบคุมเครื่องมือแพทย์ที่ผลิต นำเข้า หรือขาย เป็น 3 ประเภท คือ
- เครื่องมือแพทย์ที่ต้องได้รับใบอนุญาต ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 6 รายการ ได้แก่ ถุงยางอนามัย ถุงมือสำหรับการตรวจโรค ถุงมือสำหรับการศัลยกรรม กระบอกฉีดยาผ่านผิวหนังปราศจากเชื้อชนิดใช้ได้ครั้งเดียว กระบอกฉีดยาอินซูลินปราศจากเชื้อชนิดใช้ได้ครั้งเดียว ชุดตรวจเชื้อเอไอวีเพื่อวินิจฉัยโรค
- เครื่องมือแพทย์ที่ต้องแจ้งรายละเอียด ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 4 รายการ ได้แก่ ชุดตรวจการติดเชื้อเอชไอวีเพื่อการวิจัยหรือการค้นคว้า เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อกายภาพบำบัด เต้านมเทียมซิลิโคนใช้ฝังร่างกาย เครื่องตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในร่างกาย
- เครื่องมือแพทย์ทั่วไป เป็นเครื่องมือแพทย์ที่ไม่เข้าข่ายเครื่องมือแพทย์ทั้ง 2 ประเภท แต่ผู้ประกอบการต้องมีหนังสือรับรองการขายในประเทศผู้ผลิต ซึ่งออกโดยหน่วยงานรัฐบาลหรือเอกชน เพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ณ ด่านศุลกากร
7 ขั้นตอนง่าย ๆ ในการเป็นเจ้าของธุรกิจเครื่องมือแพทย์
- รู้เป้าหมายว่าผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ใด ที่ต้องการจะทำธุรกิจ
- เรียนรู้และศึกษาพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ ปี 2551 รวมถึงกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ทำการขึ้นทะเบียนอย.เครื่องมือแพทย์
- เรียนรู้และศึกษาจนทราบว่า ผลิตภัณฑ์ที่นำเข้า/ผลิตนั้นจัดอยู่ในกลุ่มเครื่องมือแพทย์ประเภทใด มีวัตถุประสงค์ หรือข้อบ่งใช้อย่างไร
- ปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือแพทย์ โดยการจัดทำเอกสารประกอบการยื่นคำขอนำเข้า/ผลิต/ขาย/ใบอนุญาตฯ ต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
- เครื่องมือแพทย์ทุกชนิดจะต้องทำการขออนุญาต โฆษณาฯ กับทาง อย.ก่อนที่จะโฆษณาเครื่องมือแพทย์
- เมื่อจด อย.เรียบร้อย ตรวจสอบ ติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์/กฎหมายใหม่ ๆ กับทาง อย.อยู่เป็นประจำ
ถ้าหากอยากทราบวิธีการขึ้นทะเบียนอย.ง่ายๆด้วยตัวเอง คลิก ที่นี่
ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือในสินค้าที่มีต่อผู้บริโภค ผู้ผลิตและประกอบการจำเป็นต้องขออนุญาต อย.หรือสำนักงานกรรมการอาหารและยา ในการขึ้นทะเบียนอย.เครื่องมือแพทย์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ก่อนผลิตหรือนำเข้า เราภูมิใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในก้าวแรกของธุรกิจคุณ ด้วยการรับบริการ ขึ้นทะเบียน อย. ให้กับผลิตภัณฑ์ของคุณ ด้วยราคาสุดพิเศษ รวดเร็ว
บริษัท ชาร์แมช ซี.เค. คอสเมด จำกัด เป็นหนึ่งในโรงงานรับผลิตอาหารเสริม อาหารเสริมคอลลาเจน อาหารเสริมผิวขาว รับผลิตอาหารเสริมลดน้ำหนัก และเครื่องสำอาง เวชสำอาง ครีม คุณภาพดี พิสูจน์ได้ อย่างครบวงจร
One-Stop Service Supplementary & Cosmetics OEM ควบคุมการผลิตโดยแพทย์เภสัชกรและนักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมให้คำแนะนำ ที่ปรึกษาด้านธุรกิจการตลาด เราสรรสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากลค่ะ
ที่ได้ยอมรับจากเจ้าของแบรนด์ดังต่างๆ พร้อมทั้งบริการครบวงจร ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ ปรึกษาการสร้างแบรนด์ และการสร้างธุรกิจโดยเคียงข้างคุณตลอดไป
ทั้งนี้สามารถดาวน์โหลดเอกสาร สำหรับการขึ้นทะเบียน อย. เครื่องมือแพทย์ ด้วยตนเองได้ ผ่านทาง เว็บไซต์ กรมควบคุมเครื่องมือแพทย์ ได้เช่นกัน